วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ต้นตะแบก


  ต้นตะแบก



ชื่อสามัญ                   Cananga
ชื่อวิทยาศาสตร์         Cananga odorata
ตระกูล                      ANNONACEAE
ลักษณะทั่วไป
ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นตะแบกไว้ประจำบ้านจะทำให้มีฐานะสูงขึ้น และมีความมั่นคง แข็งแรง เพราะ แบก คือ การแบกไว้ไม่ให้ตกสามารถยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต่ำดังนั้นจึงมีแรงมากบางคนก็เรียกต้องตะแบกว่าเสลา หมายถึง ความแข็งแรงแข็งแกร่งเหมือนกับหินนอกจากนี้ยังมีคนโบราณเรียกต้นตะแบกว่า อินทนิล ซึ่งมีความหมายว่าพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์มากซึ่งช่วยคุ้มครองปวงชนทั้งโลก ดังนั้นต้นตะแบกจึงเป็นไม้มงคลนาม
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นตะแบกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณ เชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
การขยายพันธุ์               การเพาะเมล็ด
การปลูก
นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดิน ถ้าปลูกบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะตะแบกเป็นต้นไม้ที่ทรงพุ่มโต
การดูแลรักษา
 แสง   ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้งน้ำ             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้งดิน        ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลางถึงสูงปุ๋ย    ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2 : 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4 - 5 ครั้ง ใช้    ปุ๋ยเคมี สูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 200 - 300 กรับ / ต้น ใส่ปีละ 3 - 4  ครั้งโรค  ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนต่อโรคพอสมควรศัตรูหนอนเจาะลำต้นอาการ                          ส่วนยอดอ่อนถูกเจาะเป็นรู ทำให้ส่วนยอด เหี่ยวแห้งและหักในที่สุดการป้องกั รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูกและทรงพุ่มการกำจัด ใช้ยาโมโนโครฟอส (Monocratohos) อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก


                 
                               ผล
                  ใบ


                 ดอก


                 ต้น


ขอบคุณที่มาจาก   http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/tabaek.htm

http://www.wattano.ac.th/wattano/Web_saunpluak/My%20Hip/097.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น